Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดนนทบุรี

ท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี
คำขวัญ

“พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ”

ข้อมูลทั่วไป

นนทบุรี เป็นจังหวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นสวนผลไม้ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของ กรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ได้บันทึกเอาไว้ว่า สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง ทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ ไปจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงมีอาหารสมบูรณ์

จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดปริมณฑลของ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนคือ ฝั่งตะวันออก และ ฝั่งตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีคูคลองจำนวนมาก คลองแต่ละสายเชื่อมต่อกัน และสามารถสัญจรไปมาหาสู่ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด ทำให้เกิดเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ขึ้นตามริมน้ำเจ้าพระยา และริมคลองสายต่างๆ

หนึ่งในอำเภอที่สำคัญของ นนทุบรี คือ ปากเกร็ด ซึ่งมีชาวมอญเก่าแก่อาศัยอยู่เนืองแน่น แทบทุกตำบล มอญเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีภาษา และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แม้แต่ชื่อตำบลบางตะไนย์ เป็นภาษามอญ ซึ่งแปลว่า ต้นข่อย และ มอญปากเกร็ดยังมีปรากฎในวรรณกรรมไทย เช่น นิราศเจ้าฟ้า ของสุนทรภู่ อีกด้วย ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เอาไว้อย่างเหนียวแน่น มีเอกลักษณ์ เช่น เครื่องปั้นดินเผา อาหาร นาฏศิลป์ ดนตรี ประเพณี เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ วัดปรมัยยิกาวาส วัดสมรโกฎิ วัดสักใหญ่ วัดศรีประวัติ
วัดบางขวาง วัดไทรม้าเหนือ วัดบางไผ่ วัดละหาร ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี วัดอัมพวัน ตลาดน้ำบางคูเวียง วัดโพธิ์บางโอ วัดแก้วฟ้า ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม วัดปรางค์หลวง วัดพิกุลเงิน วัดคงคา วัดสะแก วัดปราสาท ตลาดน้ำไทรน้อย ศูนย์เกษตรบางรักน้อย หมู่บ้านบอนสีเฉลิมพระเกียรติฯ วัดไทรใหญ่ วัดเสนีวงศ์ สวนชวนชมปรีชา วัดบางขนุน ถนนสายดอกไม้ กลุ่มส่งเสริมผู้ปลูกกล้วยไม้ วัดพระนอน วัดพระเงิน วัดท่าบันเทิงธรรม วัดต้นเชือก วัดอินทร์ วัดส้มเกลี้ยง วัดสวนแก้ว วัดยุคันธราวาส วัดราษฎร์ประคองธรรม วัดเสาธงหิน วัดบางอ้อยช้าง วัดชลอ วัดกระโจมทอง วัดสักน้อย วัดเพลง พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ บ้านครูมนตรี ตราโมท ดุริยางคศิลปิน (บ้านโสมส่องแสง) สวนผลไม้เกาะเกร็ด สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ วัดกู้ วัดสะพานสูง เกาะเกร็ด มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย ตำหนักประถม
– นนทุบรี อุทยานกาญจนาภิเษก ศาลหลักเมือง วัดตำหนักใต้ วัดชมภูเวก วัดสังฆทาน วัดโบสถ์ วัดโชติการาม วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดกับกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เขตดุสิต เขตบางเขน ไปจนถึงจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม

การเดินทาง

ทางรถยนต์
มีถนนสำคัญ 11 สาย คือ
– ถนนพิบูลสงครามระหว่างเชิงสะพานพระรามหก-สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
– ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด- สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
– ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ – ท่าน้ำปทุมธานี
– ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคลาย – สี่แยกเกษตร
– ถนนนนทบุรี 1 ระหว่างศาลากลาง – ถนนติวานนท์
– ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด – สี่แยกหลักสี่
– ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างพระรามหก – อำเภอไทรน้อย
– ถนนบางบัวทอง-ตลิ่งชันระหว่างแยกบางบัวทอง – ตลิ่งชัน
– ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรีระหว่างแยกบางบัวทอง- สุพรรณบุรี
– ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน – สามแยกวัดลานนาบุญ
– ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคลาย – ถนนบางบัว ทอง – ตลิ่งชัน

ทางรถโดยสารประจำทาง
รถโดยสารปรับอากาศ ขส.มก. ปอ.5 (ปากเกร็ด-วงเวียนใหญ่)ปอ.6(ปากเกร็ด-พระประแดง) ปอ.9 (นนทบุรี-หมู่บ้านเศรษฐกิจ) ปอ.126 (นนทบุรี-สำโรง)
รถโดยสารธรรมดา ขส.มก. สาย 69 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามบินน้ำ) สาย 104 (อนุสาวรีย์ ชัยสมรภูมิ-ปากเกร็ด) สาย 24 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ประชานิเวศน์ 3) สาย 63 (อนุสาวรีย์ชัยสมร- ภูมิ-นนทบุรี)
สาย 66(สายใต้ใหม่-ประชานิเวศน์) สาย 30(สายใต้ใหม่-นนทบุรี) สาย 70(สนาม-หลวง-ประชานิเวศน์ 3) สาย 203 (สนามหลวง-นนทบุรี) สาย 33 (สนามหลวง-ปทุมธานี) สาย 64 (สนามหลวง-ถนนสามเสน-นนทบุรี) สาย 90 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-ท่าน้ำบางพูน) สาย 134 (ย่านสินค้าพหลโยธิน-อำเภอบางบัวทอง) สาย 114 (แยกลำลูกกา-นนทบุรี) สาย 117 (ห้วยขวาง -วัดเขมา) สาย 127 (เชิงสะพานกรุงธน-อำเภอบางบัวทอง) สาย 128 (เชิงสะพานกรุงธน-อำเภอบางใหญ่) สาย 32(วัดโพธิ์-ปากเกร็ด) สาย 5
(ท่าน้ำบางโพ-ปากเกร็ด) สาย 52(สถานีรถไฟบางซื่อ -ปากเกร็ด) สาย 65 (ท่าเตียน-วัดปากน้ำ) สาย 97 (โรงพยาบาลสงฆ์-นนทบุรี)

ทางน้ำ


มีเรือด่วนเจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำวัดเตย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ทุกวัน ระหว่างเวลา 6.00-18.00 น.

เรือออกทุก ๆ 20 นาที ค่าโดยสารระหว่าง 4 บาท ถึง 16 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 7 บาท สอบถามการใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาได้ที่บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจำกัด โทร. 222-5330, 225-3002-3

เทศกาลงานประเพณี

1. งานสงกรานต์ของชาวมอญ จัดขึ้นที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด โดยจัดหลังจากวันที่ 13 เมษายน ไป 1 สัปดาห์ มีขบวนแห่และการละเล่นต่าง ๆ แบบมอญ
2. งานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองนนท์ กำหนดจัดงานช่วงกลางเดือนเมษายน-ต้นมิถุนายน ที่บริเวณริมเขื่อนหน้า ศาลากลางเก่า มีการประกวดธิดาชาวสวน ประกวดผลไม้ เช่น ทุเรียน พร้อมทั้งจำหน่ายผลไม้ที่ขึ้นชื่อของนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ไม้ ดอกไม้ประดับนานาชนิด และนิทรรศการเกี่ยวกับพืชผลทางเกษตร
3. ประเพณีตักบาตรพระร้อยแปด เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวบ้านตำบลบางกร่าง อำเภอ บางกรวย และหมู่บ้านอื่น ๆ ริมคลองบางกอกน้อย วัดหลายแห่งได้จัดงาน นี้ขึ้นพร้อมกัน เช่น วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน และวัดบาง ไกรใน โดยกำหนดจัดงานในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 คำว่า “ร้อยแปด” หมายถึงคณาจารย์ร้อยแปดองค์ที่ได้ร่วมปลุกเสกหลวงพ่อพุทธอาคม ซึ่ง เจ้าอาวาสวัดไทยเจริญร่วมกับชาวบ้านทำการหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2466 ลักษณะการจัดงานคือ ในเวลาเช้าชาวบ้านและพระจากวัดตำบลต่างๆ ในเขตนนทบุรีจะพายเรือมาร่วมกันตักบาตรพระร้อยแปดที่ริมคลอง บางกอกน้อย เริ่มตั้งแต่วัดไทยเจริญเป็นแถวยาวเหยียดไปตามสองฝั่ง คลอง
4. ประเพณีรำมอญ เป็นนาฎศิลป์เก่าแก่อย่างหนึ่งของมอญ และยังคงเหลืออยู่สืบต่อกันมาจน กระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลัง ๆ นี้ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมอญที่ปากเกร็ด ชาวมอญที่พระประแดง และ ที่ปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งวงปี่พาทย์มอญที่ บรรเลงประกอบการรำก็ยังคงมีอยู่หลายวงเช่นกัน

สถานที่น่าสนใจ

1. พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา เป็นพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยาแห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนนทบุรี ติดกับศาลาจังหวัดหลังเก่า สร้างในสมัยที่นายสะอาด ปายะนันท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เมื่อพ.ศ.2504 ในตัวอาคารชั้นบนสุดจัด แสดงปูชนียวัตถุ อาทิ พระพุทธรูปในสมัยต่างๆ และเครื่องลายครามเก่าแก่มากมาย ส่วนชั้นล่างเป็ฯสถานที่จัดแสดงความเป็นมาเกี่ยวกับโลก ชีวิตพืชและสัตว์ มนุษย์ ศิลปะ และเครื่องอุปโภคจากอดีตถึงปัจจุบัน
2. วัดกู้ ตั้งอยู่ในเขต ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด ห่างจากอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร วัดนี้สร้างสมัยพระเจ่งอพยพครอบครัวมอญเข้ามาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็ฯวัดที่สร้างด้วยศิลปะแบบมอญ ภายในวัดมีภาพเขียนฝาผนังเป็นศิลปะแบบมอญ พระตำหนักที่สร้างอยู่ในวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสิ้นพระชนม์เพราะเรือล่ม แล้วอัญเชิญพระศพมาไว้ที่วัดนี้ชั่วคราว ในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันอยู่ด้านในของพระอุโบสถหลังเก่า
3. เกาะเกร็ด เป็นเกาะขนาดใหญ่ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่สืบทอดอารยธรรมมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา วัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นบนเกาะเก็ดเป็นวัดที่สวยงาม สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ.2265 เรียกคลองนี้ว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ต่อมากระแสน้ำได้เปลี่ยนทิศทาง ทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกความแรงของกระแสน้ำ เซาะตลิ่งพัง จึงเกิดสภาพเป็นเกาะเช่นปัจจุบัน
4. ปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ ต.เกาะเกร็ด เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ 1 กิโลเมตร เป็นวัดเก่า ศิลปะการก่อสร้างแบบมอญ ภายในมีพระนอนขนาดใหญ่ และจิตรกรรมฝาผนัง พระเจดีย์ และพระประธาน ในโบสถ์สลักด้วยหินอ่อนแบบรามัญ เดิมเป็นวัดชื่อวัดปากอ่าว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระราชทางนามวัดปรมัยยิกาวาส ทั้งนี้เนื่องจากศิลปะการสร้างมีลักษณะแบบมอญ จึงเรียกกันว่า วัดมอญ
5. หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผามอญโบราญ หรือกวาสอาม่าน ชาวเมืองนนท์ในเขต อ.ปากเกร็ด ส่วนมากมีบรรพบุรุษเป็นชาวมอญ ซึ่งมีการดำรงชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นแบบมอญ เช่นเดียวกับชาวแถบปทุมธานี อุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สำคัญคือ การทำเครื่องปั้นดินเผานานาชนิด เช่น กระถาง โอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ ซึ่งกรรมวิธีการผลิตนั้นน่าสนใจมาก โดยเฉพาะที่ “กวานอาม่าน” ซึ่งเป็นสถานที่แสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามอญโบราณ อยู่บริเวณทางเดินรอบๆ เกาะเกร็ดทั้งด้านซ้ายขวาของวัดปรมัยยิกาวาส

สินค้าของที่ละลึก

ทุเรียน มังคุด เครื่องปั้นดินเผาแบบมอญ (เกาะเกร็ด)

สถานที่พัก (รหัสทางไกล 02)

1. โกลเด้น ดราก้อน 20/21 ถ.งามวงศ์วาน ต.บางเขน โทร. 589-0130-41 จำนวน 116 ห้อง
ราคา 600-2,000 บาท
2. นนทบุรี พาเลส 3/19 หมู่ 1 ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ โทร. 969-0160-9 โทรสาร 969-0150
จำนวน 150 ห้อง ราคา 880-1,500 บาท
3. ปาร์คอินน์ 30/11 ถ.รัตนาธิเบศร์ โทร. 589-9225-9 จำนวน 50 ห้อง ราคา 640-800 บาท
4. พี เอส พี เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ 140 หมู่ 7 ซ.พิบูลสงคราม 9 ถ.พิบูลสงคราม ต.สวนใหญ่
โทร. 966-6431-4 โทรสาร 966-5414 ราคา 500-700 บาท
5. ริชมอนด์ 69/783-787 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ โทร. 591-7854-63 จำนวน 116 ห้อง
ราคา 800-1,400 บาท

ร้านอาหาร (รหัสทางไกล 02)

1. โอชาเฮาส์ 21/1 ถ.ประชาราษฎร์ อ.เมือง โทร. 580-5870
2. ฮงเส็ง 280/2 อ.ปากเกร็ด โทร. 583-8631
3. ตาลทอง 89/29-30 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด โทร. 583-7041
4. ระชา เชิงสะพานพระนั่งเกล้า ถ.รัตนาธิเบศร์ โทร. 525-0123, (01) 211-3228
5. แดรีควีน เชิงสะพานพระนั่งเกล้า โทร. 579-4090, (01) 211-3800
6. สวนอาหารแม่ประภา ก่อนถึงโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถ.ติวานนท์
7. ตาปี ถ.ติวานนท์ ตรงข้ามโรงพยาบาลบำราศนราดูร
8. ริ้วทอง ถ.พิบูลสงคราม ตรงข้ามวัดเขมาภิรตาราม
9. สวนอาหารเมืองนนท์ 29 หมู่ 7 ถ.พิบูลสงคราม โทร. 526-4473
10. ริมน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเดิม
11. สวนอาหารจวนทอง 30/27 ถ.รัตนาธิเบศร์ ใกล้สยามจัสโก้รัตนาธิเบศร์ โทร. 580-4589

เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางใกล 02)


1. สำนักงานจังหวัด โทร.580-0705-6
2. ศูนย์แนะนำข่าวสารการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร.580-0721-2
3. สำนักงานเกษตรจังหวัด โทร.589-2134, 585-2637, 585-8275
4. สถานีขนส่งจังหวัด โทร.589-1560, 521-2056, 589-5656

6849
TOP